วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
วันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2561
ประวัติความเป็นมา
ความเป็นมาของวันสงกรานต์
ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน พิธีสงกรานต์เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ สังคมไทยสมัยใหม่เกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีการประชาสัมพันธ์ในเชิงท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ เทศกาลแห่งน้ำ[4] ซึ่งตัดส่วนที่เป็นความเชื่อดั้งเดิมไป
ประเพณีรดน้ำดำหัว
ประเพณีรดน้ำดำหัว
ประเพณีรดน้ำดำหัวเป็นพิธีต่อเนื่องจากวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย เป็นประเพณีที่ แสดงถึงความเคารพนบน้อบต่อบิดามารดา ผู้ใหญ่ หรือผู้มีพระคุณ เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ของผู้น้อยและขอขมาลาโทษที่ผู้น้อยอาจเคยล่วงเกินผู้ใหญ่ อีกทั้งเป็นการขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล แก่ตนเองตลอดไปตั้งแต่วันแรกของการเริ่มประ เพณีสงกรานต์ จนถึงวันสุดท้ายของสงกรานต์
คำว่ารดน้ำดำหัวเป็นคำพูดของชาวเหนือที่จะไปรดน้ำขอขมา (ขอโทษ) ผู้ใหญ่และขอพรจากผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ ซึ่งจะมีการอาบน้ำจริง ๆ คืออาบทั้งตัวและดำหัวคือสระผมด้วยสิ่งที่ใช้สระผมก็จะเป็นน้ำส้มป่อยหรือน้ำมะกรูด
คำว่ารดน้ำดำหัวเป็นคำพูดของชาวเหนือที่จะไปรดน้ำขอขมา (ขอโทษ) ผู้ใหญ่และขอพรจากผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ ซึ่งจะมีการอาบน้ำจริง ๆ คืออาบทั้งตัวและดำหัวคือสระผมด้วยสิ่งที่ใช้สระผมก็จะเป็นน้ำส้มป่อยหรือน้ำมะกรูด
การดำหัว ในความหมายทั่วไปของชาวล้านนาไทยนั้นหมายถึงการ “สระผม” แต่ในพิธีกรรม โดยเฉพาะในเทศกาลสงกรานต์ของทุก ๆ ปี หมายถึง การชำระสะสาง สิ่งอันเป็นอัปมงคลในชีวิตให้วิปลาสปราดไป ด้วยการใช้น้ำส้มป่อยเป็นเครื่องชำระจึงใช้คำว่า ดำหัว มาต่อท้ายคำว่า รดน้ำ ซึ่งมีความหมายคล้ายกันกลายเป็นคำซ้อน คำว่า “รดน้ำดำหัว” ประเพณีรดน้ำดำหัวถือว่าเป็นประเพณีที่ดีงามอีกประเพณีหนึ่ง ที่ประชาชนชาวไทยถือปฏิบัติสืเวลาที่ยาวนาน ซึ่งการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ หรือญาติผู้ใหญ่ บุคคลผู้ที่ตนให้ความเคารพนับถือ การรดน้ำดำหัวนั้นจะเป็นการขอโทษขออภัย ซึ่งกันและกัน ที่เคยล่วงเกินกันในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการล่วงเกินทางกาย ล่วงเกินทางวาจาหรือว่าการล่วงเกินทางใจ ทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ ต่อหน้าหรือว่าลับหลังก็ตาม ประเพณีรดนำดำหัว หรือบางครั้งก็เรียกว่า ประเพณีปีใหม่เมืองจะมีในระหว่าง วันที่ 13 15 เดือนเมษายนของทุกปี หรือวันสงกรานต์นั่นเอง
ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะกระทำกันในวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ เพียงวันเดียวหรือวันเถลิงศกนั่นเอง แต่การรดน้ำดำหัวพระสงฆ์นั้นจะ มีลักษณะคล้ายๆ กันแต่พิธีการรดน้ำดำหัวพระสงฆ์จะมีพิธีการมากกว่า คือก่อนที่จะรดน้ำพระสงค์จะต้องรดน้ำพระพุทธรูปก่อน แล้วจึงค่อยรดน้ำดำหัวพระภิกษุสงฆ์ จากนั้น ก็รับพรจากพระภิกษุสงฆ์ พอเสร็จพิธีก็จะมีการเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนาน และการรดน้ำดำหัวพระภิกษุนั้นจะทำทุกวัน
ประเพณีรดน้ำดำหัว เป็นสิ่งที่ทำต่อเนื่องกันมายาวนานในปีใหม่ไทย เป็นการแสดงความเคารพและความกตัญญูต่อบิดามารดา ผู้ใหญ่ และผู้มีพระคุณ ด้วยความเชื่อที่ว่า เป็นการขอขมาลาโทษ พร้อมทั้งรับคำอวยพรเพื่อสิริมงคลของชีวิต และประเพณีนี้ยังทรงคุณค่ามาจนทุกวันนี้
การเล่นน้ำสงกรานต์อย่างถูกวิธี
การเล่นน้ำสงกรานต์อย่างถูกวิธี
เคล็บลับในการเล่นน้ำ สงกรานต์ให้ปลอดภัย
เคล็บลับในการเล่นน้ำ สงกรานต์ให้ปลอดภัย
1. เคล็ดลับสำหรับคุณผู้หญิง ควรสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด ไม่เปิดเผยจุดล่อใจของร่างกายให้ผู้ที่ต้องการฉวยโอกาสทางเพศได้เห็นและ สามารถสัมผัสเนื้อตัวของคุณได้ เพื่อป้องกันการถูกลวนลาม และยังเป็นการปกป้องผิวจากแสงแดดอีกด้วย
2 . หากต้องเล่นสงกรานต์ท่ามกลางการสัญจรของยานพหนะทั้งหลาย ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ที่ขับขี่หรือไม่ก็ตาม ควรใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก ถ้าเป็นเป็นผู้ขับขี่ ควรคำนึงถึงผู้ที่อยู่ร่วมรถคันเดียวกับคุณและผู้ที่ใช้เส้นทางสัญจรเดียวกับคุณ รวมทั้งผู้ที่เล่นสาดน้ำอยู่ข้างทางจราจรก็ต้องระมัดระวังไม่วิ่งเข้าไปสาดน้ำใกล้ยานพนะที่กำลังเคลื่อนล้อเป็นอันขาด
ผู้ที่เล่นน้ำในชุมชนหรือริมทางเท้า ควรเล่นเฉพาะในบริเวณหรือเส้นทางที่จัดไว้เท่านั้น ไม่ควรเล่นน้ำบริเวณริมฟุตบาท ริมไหล่ทางหรือท้องถนนที่มีรถสัญจรไปมา เพราะอาจจะทำให้ถูกรถเฉี่ยวชนได้ ไม่ควรเล่นน้ำในลักษณะที่รุนแรง ก่อให้เกิดความเดือดร้อนและเป็นอันตรายต่อผู้อื่น
ผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์เล่นน้ำ ไม่ควรรวมกลุ่มขี่รถจักรยานยนต์เล่นสาดน้ำ เพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนหรือลื่นไถลได้ง่าย และควรลดความเร็วลง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
3 . ควรมีมารยาทในการเล่น หากเรามีมารยาทที่ดีต่อกันในการเล่นสงกรานต์ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น เช่น สาดน้ำให้กันแต่พอดี ไม่ใช่สาดกันแบบเอาเป็นเอาตาย นึกไว้เสมอว่าเล่นเพื่อความสนุก เพียงเท่านี้ก็สามารถทำให้เราเล่นสงกรานต์อย่างปลอดภัยได้
4. ไม่ใช้น้ำผสมสี น้ำสกปรก น้ำที่ไม่สะอาดจะพบเชื้อโรคได้หลายชนิดทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส รวมทั้งปรสิตต่าง ๆ สาดใส่ผู้อื่น เพราะจะทำให้ติดเชื้อราที่ผิวหนังได้ รวมทั้งไม่นำน้ำแข็ง สายยางฉีดน้ำ ปืนฉีดน้ำ กระบอกฉีดน้ำที่มีการดัดแปลงให้มีแรงอัดสูงฉีดใส่ผู้ที่ขับรถสัญจรไปมา เพราะทำให้รถเสียหลักจนเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงไม่ฉีดใส่ผู้เล่นคนอื่น เพราะอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บถึงขั้นตาบอดได้
5. ไม่ใช่แป้งหรือดินสอพอง ไม่ว่าจะเป็นแป้งดินสอพอง แป้งเด็ก แป้งกระป๋อง แป้งมัน เพราะเมื่อเข้าตาแล้วจะแสบมาก ตาจะอักเสบ หรืออาจถึงขั้นตาบอด หรือติดเชื้อที่ผิวหนังได้ และบางคนชอบเอาไปโปะหน้าคนที่สัญจรไปมา ทำให้มองไม่เห็นทาง ก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ หรือปะแป้งให้คนขับ หรือโปะที่กระจกหน้ารถจะทำให้วิสัยทัศน์ในการขับขี่แย่ลงและอาจเกิดอุบัติเหตุได้
6. ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ นี่เป็น สิ่งที่ทุกคนควรพึงปฏิบัติอีกหนึ่งข้อ เพราะถ้ามีแอลกอฮอล์เข้ามาเกี่ยวข้อง จากความสนุกจะกลายเป็นความบาดหมางได้ทันที เพราะอาจทำให้ใครหลายคนเดือดร้อน ทั้งทะเลาะวิวาท ชกต่อย ทำอนาจาร รวมไปถึงทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ยานพาหนะอีกด้วย
7. หลังเล่นน้ำสงกรานต์เสร็จ ต้องรีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย สระผม และเช็ดตัวให้แห้ง มิฉะนั้นอาจเกิดการหมักหมมและติดเชื้อราที่ผิวหนังได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)